Ad Code

Ticker

10/recent/ticker-posts

Water Footprint - คืออะไรและสาเหตุที่ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ให้ความสำคัญ

สวัสดีครับ



นอกจาก Carbon Footprint ที่ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ใช้เป็นเกณฑ์วัดว่าสินค้าหรือกิจกรรมแต่ละชนิดก่อให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (CO2) (รวมถึงก๊าสเรือนกระจกอื่นๆ เช่นมีเทน (CH4) ฯลฯ)  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาวะโลกร้อนมากน้อยเท่าใด  ขณะนี้ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ เริ่มให้ความสนใจกับเกณฑ์วัดอีกชนิดหนึ่งนั่นก็คือ Water Footprint

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าน้ำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลกเราเทียบเท่ากับอากาศ แต่มนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลกกลับมีโอกาสเข้าถึงน้ำได้ไม่เท่าเทียมกัน โดยพลเมืองทั่วโลกถึง 30% อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งขาดแคลนน้ำ  ข้อมูลนี้ทำให้ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ เรียกร้องให้มีการใช้เกณฑ์ Water Footprint หรือการวัดปริมาณการใช้น้ำทั้งทางตรงและทางอ้อมในการได้มาซึ่งสินค้าหรือกิจกรรมนั้นๆ (virtual water)  เช่นเดียวกับการใช้ Carbon Footprint ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้มีการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีคุณค่าที่สุด 

ข้อมูลที่เปิดเผยโดย Mental_floss พบว่าชาวอเมริกันใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคประมาณวันละ 100 แกลลอน แต่ใช้ virtual water (หรือ Water Foorprint) ถึงวันละ 1,980 แกลลอน รวมแล้วคือ 2,080 แกลลอนหรือเกือบ 8 พันลิตร ในขณะที่บางพื้นที่ของอาฟริกาน้ำสักลิตรยังหาได้ยาก  และด้านล่างคือ
Water Footprint ของ สินค้าและกิจกรรมที่พวกเรารู้จักกันดีครับ
  1. กาแฟหนึ่งแก้วขนาด 8 ออนซ์ใช้น้ำในการผลิตทั้งหมด 37 แกลลอน
  2. ชาดำหนึ่งแก้ว (ไม่ใส่น้ำตาลและใช้ชา 1 ถุง) ใช้น้ำในการปลูก, การบรรจุทุกขั้นตอน, การชง รวม 9 แกลลอน
  3. Water Footprint ของผ้าอ้อมชนิดใช้แล้วทิ้ง 1 ชิ้นคือ 144 แกลลอน แต่ผ้าอ้อมที่ทำจากผ้าที่ซักน้ำได้มีค่า Water Footprint เพียง 4 แกลลอน (คำนวณจากปริมาณฝ้ายที่ปลูกเพื่อผลิตผ้าอ้อมซักน้ำ 1 ชิ้นอยู่ที่ 198 แกลลอน แต่ค่าเฉลี่ยในการใช้ผ้าอ้อมอยู่ที่ 50 ครั้ง ทำให้ค่า Water Footprint เท่ากับ 4 แกลลอน)
  4. เพื่อให้ได้ยีนส์ 1 ตัวต้องใช้น้ำ2 พันแกลลอนในการปลูกฝ้าย
  5. เพื่อให้ได้กล้วยหอมน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัมต้องใช้น้ำในการปลูกและการทำความสะอาดก่อนวางจำหน่าย 209 แกลลอน)
  6. ซ้อสมะเขือเทศขนาด 35 ออนซ์ ต้องใช้น้ำเพื่อปลูกและแปรรูป 140 แกลลอน
  7. ยางล้อรถยนต์ 4 ล้อใช้ virtual water จำนวน 2,074 แกลลอน
  8. พิซซา 1 ถาดมีค่า Water Footprint 333 แกลลอน (50% สำหรับการผลิต cheese, 44% สำหรับแป้ง และอีก 6% สำหรับซ้อสมะเขือเทศ)
  9. วิสกี้ขนาด 750 ml. ใช้ virtual water 322 แกลลอน
ไม่น่าเชื่อนะครับว่าปริมาณน้ำที่แฝงอยู่ในขั้นตอนการผลิตสินค้าและกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวันจะมากขนาดนี้ โชคดีที่เราอยู่ในประเทศที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์แต่การประหยัดและใช้น้ำอย่างคุ้มค่าก็เป็นสิ่งควรกระทำเพื่อโลกของเราครับ

Post a Comment

0 Comments

Ad Code