Ad Code

Ticker

10/recent/ticker-posts

นักวิทยาศาสตร์ไม่ฟันธงก๊าซ Methane ที่ยานสำรวจ Curiosity พบบนดาวอังคารเกิดจากสิ่งมีชีวิตหรือไม่?

สวัสดีครับ

 Photograph by NASA/JPL-Caltech/MSSS

นักวิทยาศาสตร์จาก NASA เปิดเผยว่ายานสำรวจ Curiosity บนดาวอังคารตรวจพบก๊าซมีเทนในปริมาณสูงหลายครั้ง แต่ไม่สามารถยืนยันว่าเกิดจากสิ่งมีชีวิตหรือเป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากสารเคมีบนดาวอังคาร


 Photograph by NASA/JPL-Caltech/ASU

ก่อนหน้าที่ยานสำรวจ Curiosity จะลงสู่พื้นผิวดาวอังคารในปี 2012 นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจพบปริมาณก๊าซมีเทนบนดาวอังคารมาแล้วนับสิบปีโดยจำนวนก๊าซมีเทนมีการเพิ่มขี้นและลดลงเป็นระยะๆ และเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2013 หรือประมาณหนึ่งปีก่อนหน้านี้ ยานสำรวจ Curiosity ได้ตรวจพบปริมาณก๊าซมีเทนพุ่งขึ้นถึง 10 เท่า และหายไปภายใน 6 สัปดาห์ หลังจากนั้นยาน Curiosity สามารถตรวจพบการเพิ่มและลดของมีเทนอีก 4 ครั้ง โดยพื้นที่ซึ่งเกิดปรากฎการณ์นี้เป็นบริเวณแคบๆ ที่ Gale Crater ห่างจากยานสำรวจ Curiosity ไปทางเหนือเพียง 2,625 ฟุตหรือประมาณ 800 เมตรเท่านั้น

ก๊าซมีเทน หรือ CH4 เป็นแก๊สไม่มีสี ติดไฟได้ เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของแก๊สธรรมชาติบนโลกของเรา เกิดจากปฏิกิริยาทางชีวภาพเมื่อสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ (แบคทีเรีย) ย่อยสลายกรดอินทรีย์  แต่ก๊าซมีเทนสามารถเกิดขึ้นได้จากปฏิกิริยาทางเคมีรูปแบบอื่นที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตเกี่ยวข้องด้วย เช่นปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับหิน หรืออาจเกิดจากความร้อนของแสงอาทิตย์ทำปฏิกิริยากับชิ้นส่วนของอุกกาบาตบนดาวอังคาร ตามหลักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าก๊าซมีเทนที่เกิดจากอุกกาบาตน่าจะคงอยู่ในบรรยากาศดาวอังคารประมาณ 300 ปีแต่ก๊าซมีเทนบนดาวอังคารกลับเกิดขึ้นและหายไปในไม่กี่สัปดาห์  อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ก็ไม่สามารถยืนยันว่าก๊าซมีเทนที่พบเกิดขึ้นเพราะอะไรเนื่องจากพื้นที่ที่พบอยู่ห่างจากยานสำรวจมากเกินไปซึ่งข้อมูลที่ได้ยังคลุมเครือไม่เพียงพอต่อการวินิจฉัย

นักวิทยาศาตร์จาก NASA เปิดเผยว่าต่อให้ก๊าซมีเทนที่พบเกิดจากปฏิกิริยาทางชีวภาพจริงๆ ก็ไม่ได้แปลว่าขณะยังมีสิ่งชีวิตอยู่บนดาวอังคารเนื่องจากก๊าซมีเทนเหล่านี้อาจเกิดขึ้นนับล้านหรือพันล้านปีก่อนหน้านี้ (เช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติบนโลกของเรา) แต่อยู่ลึกลงไปใต้พื้นผิวดาวอังคารและถูกพายุทรายบนดาวอังคารค่อยๆกัดเซาะจนสามารถขึ้นสู่พื้นผิวดาวเป็นระยะๆ 

นักวิทยาศาสตร์จาก NASA บอกว่ายานสำรวจ Curiosity ยังอยู่ในสภาพดีเยี่ยมและสามารถทำงานสำรวจได้อีก 1 - 3 ปี

ภาพสีด้านบนคือภาพของยานสำรวจ Curiosity ถ่ายเมื่อลงจอดบนดาวอังคารในเดือนมีนาคม 2012 ส่วนภาพขาวดำคือภาพ Gale Crater ซึ่งยานกำลังทำการสำรวจอยู่ครับ

ที่มา: National Geographic

Post a Comment

0 Comments

Ad Code