Ad Code

Ticker

10/recent/ticker-posts

ความเกลียดกลัวสัตว์เลื้อยคลานอยู่ในยีนส์มนุษย์


 Image Credit: Thomas Hafeneth

คนส่วนใหญ่เกลียดและกลัวสัตว์เลื้อยคลาน เช่น แมงมุม และงู  ก่อนหน้านี้มีความเชื่อว่าความเกลียดกลัวสัตว์เหล่านี้ เกิดจากการบอกต่อ, ประสพการณ์และการเรียนรู้ แต่นักวิทยาศาสตร์พบว่า ความเกลียดกลัวสัตว์เลื้อยคลานอาจอยู่ในยีนส์มนุษย์ อยู่ในจิตสำนึกมาตั้งแต่กำเนิด

โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่จะเกลียดกลัวสัตว์เลื้อยคลาน  เช่น แมงมุม หรืองู  แม้ว่าบางคนจะไม่เคยได้เจอตัวจริงของสัตว์เหล่านี้ก็ตาม  ก่อนหน้านี้มีความเชื่อว่าความเกลียดกลัว เกิดจากการอบรมสั่งสม, ประสพการณ์, และการเรียนรู้  การวิจัยระยะหลังพบว่าความกลัวน่าจะเป็นสัญชาติญานที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ยังไม่เคยมีการทดสอบกับเด็กทารกอย่างจริงจัง

ล่าสุด สถาบันวิจัย MPI CBS (Max Planck Institute for Human Cognitive and Brain Sciences) ในเมือง Leipzig ประเทศเยอรมนี และ Uppsala University ในประเทศสวีเดน ทำการวิจัยโดยทดสอบกับเด็กทารกวัย 6 เดือนซึ่งไม่เคยพบเห็นสัตว์เลื้อยคลานมาก่อน โดยแบ่งทารกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้ดูภาพแมงมุม และ ดอกไม้ ซึ่งมีสีเดียวกัน ส่วนกลุ่มที่สองให้ดูภาพ งูและปลา ซึ่งมีสีเดียวกัน พบว่าเด็กทารกทั้งหมด มีปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อเห็นภาพงู และแมงมุม โดยมีม่านตาที่ขยายขึ้น ในขณะที่เมื่อดูภาพ ดอกไม้และงู ม่านตาเป็นปกติ การทดสอบยังพบว่าเด็กไม่มีปฏิกิริยาเมื่อดูภาพสัตว์ขนาดใหญ่เช่น แรด หรือ หมี รวมถึงไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อเห็นภาพเครื่องใช้ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น เช่น มีด, เข็มฉีดยา

Stefanie Hoehl หัวหน้าทีมวิจัย อธิบายว่าการขยายของม่านตาของเด็กทารก บ่งบอกว่าสมองส่วน Noradrenergic System ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับปฏิกิิริยาตอบสนองเมื่อเกิดความเครียด ถูกกระตุ้นจากภาพสัตว์เลื้อยคลาน ทำให้อนุมานได้ว่าความเกลียดกลัวสัตว์เลื้อยคลาน อยู่ในสัญชาตญานของมนุษย์มาตั้งแต่เกิด เป็นสิ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษของมนุษย์ตั้งแต่นับแสนปีก่อน ซึ่งต้องอยู่ใกล้ชิดและเรียนรู้ถึงอันตรายที่อาจเกิดจากสัตว์เหล่านี้


ที่มา: Dailymail



Post a Comment

0 Comments

Ad Code