Ad Code

Ticker

10/recent/ticker-posts

Sudan แรดขาวอาฟริกาตอนเหนือเพศผู้ตัวสุดท้ายในโลก ตายแล้ว



ข่าวร้ายสำหรับผู้รักสัตว์ทั่วโลกครับ Sudan แรดขาวอาฟริกาตอนเหนือเพศผู้ตัวสุดท้ายในโลก ตายแล้ว ที่เหลืออยู่คือ แรดขาวอาฟริกาตอนเหนือเพศเมียเพียง 2 ตัว







เป็นเวลาหลายปีที่ นักอนุรักษ์สัตว์เอาใจช่วยให้แรดขาวอาฟริกาตอนเหนือ สามารถรอดพ้นจากการสูญพันธ์ เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 ที่เหลือ แรดขาวอาฟริกาตอนเหนือ 6 ตัว และ เหลือแรดขาวอาฟริกาตอนเหนือเพียง 3 ตัว ในปี ค.ศ. 2015  แต่ในที่สุด Sudan แรดขาวเพศผู้อายุ 45 ปี ก็เสียชีวิต เหลือเพศเมีย 2 ตัวคือ Najin ซึ่งอายุมากมีปัญหาสุขภาพไม่สามารถสืบพันธ์และ Fatu ที่เป็นหมัน ทำให้หมดโอกาสขยายพันธ์แรดขาวอาฟริกาตอนเหนือด้วยวิธีปกติอีกต่อไป

Sudan  ป่วยด้วยโรคชรามาหลายเดือน มีอาการกล้ามเนื้อเสื่อม, ภาวะแทรกซ้อนที่กระดูก, แผลเรื้อรังขนาดใหญ่ตามผิวหนัง  อาการของมันทรุดหนักจนลุกขึ้นยืนไม่ได้ติดต่อกันหลายวัน ทำให้คณะสัตว์แพทย์ต้องตัดสินใจปลิดชีวิตของมัน

สัตว์แพทย์กำลังพยายามสืบสายพันธ์แรดชนิดนี้ด้วยวิธี in vitro fertilization (IVF) หรือการเพาะตัวอ่อน (Embryos) จากไข่ของ Najin และ Fatu กับน้ำเชื้อของ Sudan ซี่งมีอยู่ประมาณ 100 หลอด เพื่อจะนำตัวอ่อนนี้ไปฝากท้องกับแรดขาวอาฟริกาตอนใต้ (Southern White  Rhinoceros) ซึ่งเป็นสายพันธ์ใกล้ชิดของมัน

แรดขาวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลกรองจากช้าง อาศัยอยู่ในทวีปอาฟริกา แบ่งออกเป็น 2 สายพันธ์คือ  Northern white rhinoceros หรือแรดขาวอาฟริกาตอนเหนือ และ Southern White Rhinoceros หรือแรดขาวอาฟริกาตอนใต้ ร่างกายและหัวขนาดใหญ่ คอสั้น อกกว้าง  ยาวประมาณ  3.5-4.5 เมตร.สูง 1.60 - 1.85 เมตร น้ำหนักประมาณ 1,400 - 3,600 กิโลกรัม โดยเพศผู้จะหนักกว่าเล็กน้อย มีนอ 2 นอ นอหน้าใหญ่กว่านอหลัง

สาเหตุที่แรดขาวอาฟริกาตอนเหนือ กำลังจะสูญพันธ์เป็นเพราะสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ที่แยกพวกมันจากความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ แต่สาเหตุสำคัญเกิดจากสภาวะการเมืองและสงครามในอดีต ในหลายๆ ประเทศของอาฟริกาเช่น Sudan, the Central African Republic, the Democratic Republic of the Congo, และ Uganda  ทำให้พวกมันถูกล่าโดยไม่ได้รับการเหลียวแลจากรัฐบาลของแต่ละประเทศ

ในขณะที่แรดขาวอาฟริกาตอนใต้อยู่ในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์กว่า ประกอบกับมีการรณรงค์และปราบปรามการล่าแรดทุกชนิดอย่างเอาจริงเอาจังกว่าเดิม ทำให้ยังมีประชากรเหลืออยู่มากพอสมควร อย่างไรก็ตามแรดขาวอาฟริกาตอนใต้ ก็ถูกจัดให้อยู่ในประเภทสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธ์ 



หวังว่าการผสมเทียม ด้วยวิธี in vitro fertilization (IVF) จะประสพความสำเร็จ เพื่อช่วยให้แรดขาวอาฟริกาตอนเหนือไม่สูญพันธ์ไปจากโลก ด้วยการล่าของมนุษย์  ความจริงแล้วการสูญพันธ์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่การสูญพันธ์ด้วยน้ำมือมนุษย์เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้จริงๆ 

 

ที่มา: Lifehacker



Post a Comment

0 Comments

Ad Code